อยากเรียนดำน้ำ แต่ไม่รู้อะไรเลย อ่านตรงนี้ก่อน !!!

เริ่มต้นเรียนดำน้ำด้วยหลักสูตร
Open Water Diver

เพิ่มพูนทักษะการดำน้ำ
Advanced Open Water
EFR
Rescue Diver
Dive Master

Bubble Maker
Seal Team
Discover Scuba Diving

อยากเรียนแบบส่วนตัว คลิก

ชมภาพห้องเรียน + สระว่ายน้ำ
DiveDNA.com บริการดำน้ำครบวงจร สอนดำน้ำตามมาตรฐาน PADI จัดทริปดำน้ำทั้ง Day Trip และ Liveaboard อ่าวไทย ชุมพร เกาะเต่า อันดามันเหนือ หมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน บอน ตาชัย ริเชลิว อันดามันใต้ตะรุเตา หินม่วง หินแดง พีพี
จำหน่ายและให้เช่าอุปกรณ์ในราคาสมเหตุผล

รับซ่อมและบำรุงรักษา
BCD Regulator และอื่นๆ

สอบถามข้อมูลและโปรโมชั่น
Mobile: 081 700 6700
e-Mail: divedna@hotmail.com
คิมหันต์ อันดามันเหนือ - สิมิลัน บอน ตาชัย ริเชริว (2)
31 มีนาคม - 1 เมษายน 2549

เกาะตาชัย

ตาชัย(ผัวยายจัน) คงยังโกรธยายจันอยู่ ทำให้แกมีน้ำโหรุนแรงอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้กระแสน้ำยังคงแรงและไหลอยู่เหมือนเดิม นักดำน้ำมือใหม่ๆ มักถอดใจเพราะต้องตีฟินสู้กระแสน้ำตลอด และกระแสน้ำก็เปลี่ยนทิศอยู่ตลอดเวลา แต่ที่นี่ก็เป็นแหล่งที่เรามักพบปลาปลากลางน้ำแปลกๆ และปลาใหญ่อย่างฉลามวาฬ แต่คราวนี้จุดหมายของผมไม่ใช่ปลาใหญ่ แต่เป็นเจ้าปลาตัวไม่ใหญ่ไม่เล็กหน้าตาประหลาดที่ชื่อว่า "ปลากบ"

พอลงน้ำได้ ผมก็มุดลงไปหาปลากบตรงแถวๆ ที่เดิมที่ผมเคยเจอ (ซึ่งจากการคุยกับเพื่อนนักดำน้ำของผม ได้ความว่า มี แต่ตัวเท่านิ้วก้อยเอง)

Leopard Blenny

ระหว่างสอดส่ายสายตาหาเหยื่อ เอ้ย หาปลากบ หาไป หามา ผมก็รู้สึกว่ากำลังถูกจ้องมองอยู่ เอ๊ะ หรือว่าจะมีนักดำน้ำสาวมาแอบปิ๊งผม ที่ไหนได้เจ้า Leopard Blenny นะเอง สงสัยจะไม่เคยเห็นพี่วิลลี่ จ้องเอาๆ ซะขนาดนั้น

เกาะบอน

จากตาชัย เรามุ่งหน้าไปที่เกาะบอน และที่นี่เองผมก็ได้พบกับประสบการณ์ใหม่ เป็นครั้งแรกในชีวิตของผมที่เห็นแมนต้ากระโจนขึ้นเหนือผิวน้ำ ผมเคยอ่านในหนังสือเค้าว่ากันว่าแมนต้าเรย์คลอดลูกตอนกำลังกระโจนขึ้นผิวน้ำ ถ้าเป็นอย่างนั้นผมคงโชคดียิ่งกว่าถูกหวยแจ๊คพ็อต น่าเสียดายที่คว้ากล้องขึ้นมาเก็บภาพไม่ทัน

มองจากเรือยังเห็นเงารางๆ ของมันยังอยู่เรี่ยผิวน้ำ ชาวคณะทั้งไทยและเทศรีบแต่งตัวและโดดลงน้ำในทันทีเหมือนนัดกันไว้ ส่วนเจ้าแมนต้าเรย์พริ้วปีกร่อน เหมือนจงใจ จะท่าไหน มุมไหน .... จัดให้ มันเล่นกับเราร่วมชั่วโมง ก่อนบินจากไป

Manta Ray - แมนต้า กระเบนราหู

ขากลับจากเกาะบอน แสงอาทิตย์ยอแสง ฟ้ายามเย็นวันนั้น สวยจับใจจริงๆ กัปตันเดินมาสะกิด ว่ามีโลมาฝูงใหญ่อยู่หน้าเรือ จากนั้นทั้งไทยและเทศก็ไปยืนอออยู่บริเวณหัวเรืออย่างไม่ได้นัดหมาย โลมานับร้อยตัวกระโจนบ้างว่ายแข่งกับเรือบ้าง น่าประทับใจมากครับ

ก่อนกลับ ที่เรือนกล้วยไม้ ... East of Eden

ก่อนโบกมือลาหมู่เกาะสิมิลัน อันดามันเหนือ เราเก็บไดฟ์ไซท์ที่เหลือ นั่นก็คือ เรือนกล้วยไม้ ที่แม้จะได้รับผลกระทบจากสึนามิแต่ก็ยังคงงดงามสมชื่อ East of Eden ครับ

เจ้าผีเสื้อคอขาวที่ตามปกติเรามักเห็นอยู่เดี่ยวๆ หรือหากินเป็นคู่ คราวนี้มารวมฝูงกันเกือบยี่สิบตัว ขณะที่ผมกำลังกดชัตเตอร์เพื่อเก็บภาพปลาผีเสื้อคอขาวฝูงนี้ ปลาผีเสื้อหยาดน้ำตาอันดามัน (Teardrop Butterflyfish) ก็ว่ายโฉบขึ้นมาจากด้านล่างพอดี แต่เจ้าปลาน้อยคงจะตื่นคน เลยว่ายน้ำหนีไปอย่างรวดเร็ว ปลาผีเสื้อพันธุ์นี้ค่อนข้างหายากครับ นานๆ จะเจอซะที เสียดายที่ไม่ได้รูปคู่ใกล้ๆ มาฝากกัน

Frog fish ปลากบ
ตลอดทริปนี้ผมพยายามหาปลากบ หาเท่าไหร่ก็หาไม่เจอจนเกือบจะถอดใจแล้ว แต่แล้วในที่สุดการค้นหาของผมก็เป็นผล ปลากบสีส้มตัวเท่าลูกกระต่ายนอนตาแป๋วแอบหมอบอยู่ข้างกอปะการัง

นี่ไงครับโฉมหน้าเจ้าปลากบตัวเดียวที่ผมเจอในฤดูกาลนี้  -->

หลังจากเก็บรูปเจ้าปลากบมาเป็นหลักฐานแล้ว ผมก็เจอกับปลากัดทะเล พอเห็นหน้าผม มันก็ว่ายหนีเข้าซอกหินไปอย่างรวดเร็ว

ก่อนขึ้นสู่ผิวน้ำผมแวะไปเยี่ยมเพื่อนเก่าอีกตัว ที่อาศัยอยู่ใต้ปะการังโต๊ะที่เป็นเสมือนแลนด์มาร์คของที่นี่ พอจะนึกออกกันไหมครับ

ก็ "เจ้าปลาไหลมอเรย์ยักษ์" ไงครับ มันยังคงอ้าปากพะงาบๆ (รอกินนักดำน้ำที่หลุดไป อิอิ) เรียกว่าใครลงที่เรือนกล้วยไม้แล้วไม่ได้มาทักพี่ยักษ์ก็เหมือนมาไม่ถึงยังไงยังงั้นเลย

 

บันทึกหลังไมล์

สิ่งที่ แปลกตาสำหรับทริปปีนี้ของท้องทะเลสิมิลันก็คือ "เหา" ทั้งหลายเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นเหาเต่า เหาปลาไหลมอเรย์ เหาปลาชนิดต่างๆ เจ้าเหาเหล่านี้ มีชื่อเรียกอีกอย่างนึงว่า Shacker
ดูอย่างตัวนี้ซิครับ คงหาอะไรเกาะไม่ได้ ก็เลยมาเกาะแท็งค์ของนักดำน้ำซะเลย

นอกจากนี้แล้ว เต่ายังเยอะครับ ทั้งทริป ผมเจอนับได้ 6-7 ตัว

ว่างๆ จะเอาเรื่องและรูป มาเล่าสู่กันฟังใหม่นะครับ

<< ย้อนกลับ