อยากเรียนดำน้ำ แต่ไม่รู้อะไรเลย อ่านตรงนี้ก่อน !!!

เริ่มต้นเรียนดำน้ำด้วยหลักสูตร
Open Water Diver

เพิ่มพูนทักษะการดำน้ำ
Advanced Open Water
EFR
Rescue Diver
Dive Master

Bubble Maker
Seal Team
Discover Scuba Diving

อยากเรียนแบบส่วนตัว คลิก

ชมภาพห้องเรียน + สระว่ายน้ำ
DiveDNA.com บริการดำน้ำครบวงจร สอนดำน้ำตามมาตรฐาน PADI จัดทริปดำน้ำทั้ง Day Trip และ Liveaboard อ่าวไทย ชุมพร เกาะเต่า อันดามันเหนือ หมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน บอน ตาชัย ริเชลิว อันดามันใต้ตะรุเตา หินม่วง หินแดง พีพี
จำหน่ายและให้เช่าอุปกรณ์ในราคาสมเหตุผล

รับซ่อมและบำรุงรักษา
BCD Regulator และอื่นๆ

สอบถามข้อมูลและโปรโมชั่น
Mobile: 081 700 6700
e-Mail: divedna@hotmail.com
Decompression Sickness

ปกติผมจะเป็นนักดำน้ำแบบ Conservative มาก คือ ปลอดภัยไว้ก่อน และเพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค Decompression หรือ DCS หรือ Bend หรือ น้ำหนีบ หรือพวกเรามักเรียกกันว่า คิดดีคอม

คุณรู้อะไรเกี่ยวกับโรคนี้บ้าง ?
นอกจากอย่าดำน้ำจนเกิน NDL หรือ อย่าขึ้นเร็วจนเกินไป

มีปัจจัยเพียงเท่านั้นเองหรือ?
จริงๆ แล้วยังมีอีกหลายปัจจัย ซึ่งบางอย่างผมเองก็เพิ่งรู้
รู้จากไหน?
 ก็จากตัวเอง และเพื่อนๆ สมาชิก ผู้ที่มีประสบการณ์ตรงแน่ว เลยล่ะ

เรามักจะรับรู้กันโดยทั่วไปอยู่แล้วว่า อย่าดำนาน และอย่าดำลึกจนเกิน dive table หรือ wheel
วางแผนการดำน้ำให้ดี ก็จะป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ (ถึงแม้ไม่มีทฤษฎีใดๆ รับประกันว่าจะไม่เกิดโรคนี้ก็ตาม)

จริงๆ แล้วยังมีสาเหตุและปัจจัยอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิด Decompression sickness ได้ อาทิ

  • ร่างกายขาดน้ำ
    ควรทานน้ำเยอะๆ ก่อนดำน้ำ ไม่ใช่เพียงเพื่อไม่ให้คอแห้งเท่านั้นนะครับ แต่การทานน้ำเยอะๆ จะทำให้ร่างกายสูญเสียความร้อนช้าลง เพราะน้ำพาความร้อนไปได้ดีกว่าในอากาศถึง 20 เท่า หากร่างกายขาดน้ำจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิดโรคได้เร็วขึ้น
  • นอนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • อายุมาก ความอ้วน ไขมัน
  • การออกแรง เช่น ยกก้อนหิน  การตีฟินสู้น้ำที่แรง ก็เป็นตัวเร่งปฏิกิริยานะครับ
  • น้ำเย็น (อย่าลืมบวกการคำนวณความลึกไปอีก 4 เมตร นะครับ)
  • การดื่มเครื่องดิ่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนและระหว่างดำน้ำ (หากว่าหลังดำของแต่ละวันละ? ก็มีผลเหมือนกันครับ)

เราสามารถแบ่งโรคนี้ได้ออกเป็น 2 แบบ คือ Type I และ Type II
ซึ่งทั้งสองแบบ จะเกิดอาการตั้งแต่ขึ้นมาจากน้ำ 5 นาทีไปจนถึง 24 ชั่วโมงเท่านั้นนะครับ
หากเลยไปวันที่ 2 วันที่ 3 หรือ เป็นสัปดาห์ ก็คงเป็นโรคอื่นแล้วล่ะครับ ซึ่งเราก็ไม่ควรวิตกจริตจนเกินไปนัก

Type I
แบบนี้ จะไม่ร้ายแรงมากนัก
อาการก็จะเป็นผื่นแดง คันๆ บริเวณผิวหนัง ครั่นตัว ซึ่งอาการเหล่านี้พวกเราหลายคนอาจจะเคยเป็นแล้วก็ได้ แต่ไม่รู้ตัว เพราะอาจหายได้เองหากเวลาผ่านไป (ภายใน 72 ชั่วโมง)

แต่ควรสังเกตดูด้วยนะครับ ว่าโดนพวกไฮดรอย หรือ แมงกะพรุน หรือเปล่า ไม่ใช่ตะบี้ตะบันเหมาว่าเป็น Bend ไปหมด

หากอีกพักนึง มีอาการเจ็บปวดที่แขน ขา ชา ก็ควรสันนิษฐานว่า อาจเป็นโรค Bend
ให้ skip dive ซะ เฝ้าดูอาการก่อน อย่าไปงกกับค่าทริปมากนัก
หากอาการโอเค หรือ นอนสักงีบแล้วหาย ก็คงไม่เป็นอะไรหรอกครับ ดำต่อได้

Type II
ท่าจะแย่แล้วล่ะครับ หากขึ้นมาแล้ว รู้สึกว่าหายใจขัด เจ็บขณะหายใจ ไออย่างรุนแรง เจ็บตามข้อ เริ่มเป็นอัมพาต เป็นลม หมดสติ แบบนี้ไม่ต้องมัวสันนิษฐานหรอกครับ

รีบปฐมพยาบาลทันทีนะครับ โดยการให้ ออกซิเจน 100% (เรือดำน้ำทุกลำต้องมี) กับผู้ป่วย เปิดทางเดินหายใจ หากผู้ป่วยหมดสติ  หากผู้ป่วยหายใจเองได้ ให้หายใจแบบปกติ อย่ากลั้น หรือ ทำ Hyperventilation โดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้อาการทรุดหรือหนักกกว่าเดิม  และไม่ต้องหวังดีพาผู้ป่วยลงไปทำ Recompression ในน้ำนะครับ ไม่มีประโยชน์ มีแต่จะทำให้ทรุดหนักขึ้น

ให้สังเกตอาการของผู้ป่วยไปเรื่อยๆ โทรหา Chamber และรถพยาบาลแต่เนิ่นๆ พอถึงฝั่งจะได้รักษาโดยเร็ว

ความรู้เพิ่มเติมครับ ใช่ว่าทุกวันนี้คุณสามารถเข้า Chamber ได้ทันทีนะครับ Chamber ทุกวันนี้ มักใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็นแผลหายยาก หรือ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานครับ ดังนั้นคิวจะยาวมาก และก็คาดว่า .... น่าจะแพง

ดังนั้นการระมัดระวังในการดำน้ำของพวกเราน่าจะเป็นทางออก ที่ดี(และถูก)ที่สุดนะครับ หากสามารถทำตามข้อแนะนำต่อไปนี้ได้ ก็จะเยี่ยมมากเลยครับ

  • ออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรง
  • ทานให้อิ่ม (อันนี้สบาย)
  • นอน หรือพักผ่อน เยอะๆ ก่อนดำน้ำ (เป็นปัญหาของหลายๆ คน ที่ อาจจะแปลกที่ เมาเรือ คืนแรกไม่ค่อยหลับกันหรอก แต่ก็ควรพยายาม (อาจใช้ตัวช่วยเช่น ยาแก้เมาเรือ ก็อาจทำให้หลับได้ง่ายขึ้น)
  • ขณะดำน้ำ อย่าอยู่ต่ำกว่าไดฟ์ลีดเดอร์ อันนี้ขอเน้นย้ำครับ เพราะนักดำน้ำโดยส่วนใหญ่มักลอยตัวอยู่ต่ำกว่าไดฟ์ลีดเดอร์เสมอ(ทั้งตั้งใจ และไม่ตั้งใจก็ตาม) ไดฟ์ลีดแทบทุกคนจะมีประสบการณ์ และมีไดฟ์คอม ซึ่งเป็นอาชีพของเค้า เค้าต้องรักษาตัวให้ดำน้ำได้นานๆ โดยที่ไม่เสี่ยงดำจนเกิน NDL หรือ ติด ดีคอม ดังนั้นเราก็ไม่ควรเสี่ยงด้วย ไม่ว่าจะมี Dive Computer หรือไม่ก็ตาม
  • อย่าคิดว่าตัวเองเท่ห์ แน่ เจ๋ง ดำนานเกินไป
  • สำหรับนักถ่ายรูป ตากล้อง ยายกล้องทั้งหลาย ควรจะมี Dive Computer เป็นของตัวเองนะครับ
    เพราะว่า หากน้ำใส ไหลเย็นเห็นตัวปลา ตากล้องทั้งหลายมักจะลืมตัว นึกว่าอยู่บนบก แล้วก็เล็งอยู่นั่นแหละ กดชัตเตอร์ปุ๊ป กุ้งหอย ปู ปลา ก็มักจะหลบปั๊ป(เหมือนจะแกล้ง) กว่าจะได้รูปดั่งใจ ก็ผ่านไปแล้วหลายนาที โอกาสติด ดีคอมจึงมีสูงกว่าคนอื่น

อย่าลืมนะครับ ไม่มี ทฤษฎี ใดๆ ที่รับประกันได้ว่าเราจะไม่เป็นโรค Decompression Sickness ดังนั้นการปลอดภัยดีกว่าครับ