อยากเรียนดำน้ำ แต่ไม่รู้อะไรเลย อ่านตรงนี้ก่อน !!!

เริ่มต้นเรียนดำน้ำด้วยหลักสูตร
Open Water Diver

เพิ่มพูนทักษะการดำน้ำ
Advanced Open Water
EFR
Rescue Diver
Dive Master

Bubble Maker
Seal Team
Discover Scuba Diving

อยากเรียนแบบส่วนตัว คลิก

ชมภาพห้องเรียน + สระว่ายน้ำ
DiveDNA.com บริการดำน้ำครบวงจร สอนดำน้ำตามมาตรฐาน PADI จัดทริปดำน้ำทั้ง Day Trip และ Liveaboard อ่าวไทย ชุมพร เกาะเต่า อันดามันเหนือ หมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน บอน ตาชัย ริเชลิว อันดามันใต้ตะรุเตา หินม่วง หินแดง พีพี
จำหน่ายและให้เช่าอุปกรณ์ในราคาสมเหตุผล

รับซ่อมและบำรุงรักษา
BCD Regulator และอื่นๆ

สอบถามข้อมูลและโปรโมชั่น
Mobile: 081 700 6700
e-Mail: divedna@hotmail.com
มารยาทและข้อควรระวังในการถ่ายภาพใต้น้ำ

ปัจจุบันอุปกรณ์ถ่ายรูปใต้น้ำมีราคาถูกลงและมีทางเลือกที่หลากหลาย ทำให้นักดำน้ำหลายๆ คนหันมาสนใจเรื่องการถ่ายภาพใต้น้ำกันมากขึ้น

เมื่อคิดจะเอากล้องลงน้ำ

ถ้าวัตถุประสงค์ในการถ่ายภาพใต้น้ำของเราเพื่อถ่ายเล่นๆ เอาไว้ดูเล่น คุณอาจใช้เพียงโหมด Auto ก็เพียงพอ แต่ถ้าคุณต้องการนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น ต้องการนำไปประกวด หรือ เอาไปทำอะไรอื่นๆ มากกว่านี้ คุณควรศึกษาคุณสมบัติของกล้องให้ดีก่อนว่าทำอะไรได้บ้าง  เช่น

  • การใช้แฟลชในตัวของกล้อง
  • การใช้ไฟฉาย หรือ การใช้ Strobe ภายนอก
  • การใช้ฟังก์ชั่นต่างๆ เช่น ถ่ายใต้น้ำ , สปีดชัตเตอร์ , ISO, การถ่ายวีดีโอคลิป และสารพัดฟังก์ชั่นที่กล้องมีมาให้

ควรฝึกใช้กล้องให้เกิดความคล่องแคล่วและคุ้นเคยก่อนที่จะนำลงน้ำ  คุณอาจลองถ่ายสัตว์เล็กๆ เช่น มด หนอน ผีเสื้อ แมลงปอ เป็นต้น

เมื่อถ่ายบนบกคล่องแล้ว ควรลงสระน้ำฝึกอีกหน่อย จากนั้นไปฝึกฝีมือต่อที่ไดฟ์ไซท์ใกล้ๆ เช่น พัทยา แสมสาร ลองถ่าย ในสภาพแวดล้อมต่างๆ กัน เช่น พื้นทราย ปะการังแข็ง แล้วลองจำลองสถานการณ์ เช่น หากกุ้ง ปู อยู่ในหลืบ ในซอก ในโพรง จะถ่ายอย่างไร ปลาว่ายมาเร็วๆ จะต้องทำอย่างไร ลองซูมอิน ซูมเอ๊าท์ เข้าโหมดมาโคร(Macro)  เป็นต้น

การถ่ายภาพใต้น้ำ จะว่าง่ายก็ไม่ง่าย จะว่ายากก็ไม่ยาก เพราะการถ่ายภาพใต้น้ำยังขึ้นอยู่กับองค์ประกอบและปัจจัยอีกหลาย เช่น การลอยตัว  กระแสน้ำ การมองเห็น สภาพใต้น้ำ เวลา เป็นต้น

นอกจากจะฝึกฝนในเรื่องการถ่ายภาพแล้ว ก็ยังมีเรื่องที่ต้องระวังอีกครับ

ข้อควรระวังในการถ่ายรูปใต้น้ำ

  • ควรระมัดระวังเรื่องการลอยตัว (Buoyancy control) เพื่อป้องกันความเสียหายต่อสิ่งที่อยู่ใต้น้ำ เช่น ปะการัง กัลปังหา สำคัญนะครับเรื่องนี้
  • ควรสำรวจดูบริเวณโดยรอบ เพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์มีพิษหรือ เช่น หอยเม่น หรือปลาหินต่างๆ ซึ่งอาจทำให้การถ่ายรูปของเราหมดสนุกไปได้
  • ที่สำคัญ อย่าลืมกฎสำคัญของการดำน้ำ คือ โนดีคอมเพลสชั่น ลิมิต(No Decompression Limited) หรือ NDL เพราะนักถ่ายภาพใต้น้ำส่วนใหญ่ จะถ่ายเพลิน หรือรอเพื่อถ่ายช็อตเด็ด จนอาจให้อยู่ในที่ลึกจนนานเกินกว่าเวลาที่กำหนดไว้ ดังนั้นควรวางแผนการดำน้ำให้ดีเสียก่อน หรือควรจะมีไดฟ์คอมพิวเตอร์อยู่กับตัวสัก 1 เครื่อง

มารยาทที่ดีสำหรับ การถ่ายรูปใต้น้ำ

หากว่าเราหาตัวนู้นตัวนี้เจอเอง แล้วไม่มีใครอยู่ใกล้ๆ จะกดแชะ แชะ นานแค่ไหน ก็ไม่มีใครว่าอะไร แต่ถ้าเป็นตัวอะไรแปลกๆ ที่ใครๆ ก็อยากเจอ อยากถ่ายละก้อ เราต้องมีมารยาทกันบ้างครับ

  • ขั้นต้นก็คือ การรอคิว หรือ เข้าคิว ต้องรอกันบ้างครับ ไมใช่มะรุมมะตุ้มแย่งกันถ่าย
  • ระหว่างรอคิวควรปรับโหมด เซ็ทกล้องเอาไว้ล่วงหน้า หรือคิดว่าจะถ่ายอย่างไรดี พอถึงคิวถ่ายก็จะได้ไม่เสียเวลา
  • จากนั้นเมื่อถ่ายสัก 2-3 รูป ก็ควรผลัดให้คนอื่นเข้ามาถ่าย เข้ามาดูบ้าง
  • ตอนออกจากจุดที่ถ่ายรูป ให้ค่อยๆ ผลักตัวหรือถอยออกมาก่อนแล้วจึงค่อยๆ เตะฟิน เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นทรายหรือตะกอนคละคลุ้ง หรือบางครั้งหากเราตีฟินแรงก็อาจทำให้ตัวเล็กตัวน้อย เช่น ทากทะเล กระเด็นกระดอนไปไหนก็ไม่รู้

อย่าลืมนะครับว่าระบบนิเวศน์ใต้ทะเลของเรานั้นแสนจะบอบบาง หากรักที่จะถ่ายภาพเพื่อ "เก็บ" เป็นที่ระลึก ก็ต้องใช้ความระมัดระวังอย่าให้เกิดความเสียหายต่อท้องทะเลด้วย อย่าให้ใครเค้าว่าเอาได้ว่า "ดีแต่เอากล้องลงน้ำ"